จังหวัดสุพรรณบุรีจัดกิจกรรมส่งเสริม สนับสนุน สืบสานประเพณีลอยกระทง “สายน้ำ สายชีวิต เมืองสุพรรณ” ประจำปี 2564 ภายใต้มาตรการป้องกันโควิด 19

วานนี้ (19 พ.ย. 64) จังหวัดสุพรรณบุรี โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี ร่วมกับศูนย์อนุรักษ์พันธุ์กล้วยสุพรรณบุรี วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร และหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน  ร่วมกันจัดกิจกรรมส่งเสริม สนับสนุน สืบสานประเพณีลอยกระทง “สายน้ำ สายชีวิต เมืองสุพรรณ” ประจำปี 2564 ภายใต้โครงการส่งเสริมสนับสนุนการอนุรักษ์ฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยมี นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานเปิดงาน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 – 19 พฤศจิกายน 2564  เพื่อส่งเสริม อนุรักษ์ และสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีการลอยกระทงให้คงอยู่สืบไป อีกทั้งยังส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนมีส่วนร่วมในการสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีสำคัญของชาติ กระตุ้นให้เด็ก เยาวชน และประชาชนเกิดความตระหนัก รัก และหวงแหนวัฒนธรรม อันเป็นรากเหง้าต่อสถาบันหลักของชาติมีความมั่นคง รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การสร้างมูลค่าเพิ่มด้านกิจกรรมทางวัฒนธรรม และเผยแพร่อัตลักษณ์ท้องถิ่นของชาวจังหวัดสุพรรณบุรี ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางสืบไป 
ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวว่า โดยในปีนี้ การจัดงานประเพณีลอยกระทง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้จัดท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19หวังเป็นอย่างยิ่งให้ทุกคนร่วมกันสืบสานวัฒนธรรม “การลอยกระทงวิถีใหม่” โดยการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงวัฒนธรรม ขณะเดียวกันก็คำนึงถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยในช่วงประเพณีลอยกระทง และการบังคับใช้อย่างเคร่งครัด รวมถึงการรักษาความปลอดภัยด้านอื่นๆ
พร้อมทั้งขอบคุณคณะผู้จัดงานที่เป็นส่วนสำคัญในการเผยแพร่อัตลักษณ์ความเป็นไทยและเป็นกลไกที่มีส่วนสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ด้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และมีคุณค่าต่อครอบครัว ต่อสังคม ต่อชุมชนและประเทศชาติสืบไป

 


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

image วิดีโอ

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar