สถิติจังหวัดสุพรรณบุรี จัดกิจกรรม สร้างภูมิคนไทยรู้ทันปัญหาออนไลน์ (1212 ETDA) "รู้ทันเกมโกง หยุดกลคนลวง"

วันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ห้องกาลพฤกษ์ โรงแรมสองพันบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี นายประทีป การมิตรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานในพิธีเปิด โครงการ สร้างภูมิคนไทยรู้ทันปัญหาออนไลน์ (1212 ETDA) "รู้ทันเกมโกง หยุดกลคนลวง" ซึ่งจังหวัดสุพรรณบุรีเอง ให้ความสำคัญเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากภัยทางออนไลน์ ที่ส่งผลกระทบในหลายมิติ โดยมุ่งเน้นการสร้างความตระหนักรู้ด้านการป้องกัน และจัดการปัญหาธุรกรรมทางออนไลน์ เสริมสร้างเกราะป้องกัน เพื่อช่วยยกระดับชีวิตคนไทยในทุกภาค ทุกจังหวัด ให้สามารถป้องกันตัวเองและสนับสนุนให้เกิดการทำธุรกรรมทางออนไลน์ที่ปลอดภัยและน่าเชื่อถือ พร้อมขับเคลื่อนให้เกิด กรสร้างความเชื่อมั่นต่อเทคโนโลยีดิจิทัลแก่ประชาชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รองรับเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศได้ต่อไปในอนาคต
นางสาวธนพร คงประเสริฐ สถิติจังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นองค์กรหลักของชาติในการบริหารจัดการระบบสถิติเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยกระจายภารกิจให้กับสำนักงานสถิติทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย รวมทั้งสำนักงานสถิติจังหวัดสุพรรณบุรีด้วย ในการสร้างความตระหนักรู้ รู้เท่าทัน มีภูมิคุ้มกันสามารถป้องกัน และแก้ไขปัญหาภัย online ให้กับตนเอง ครอบครัว ชุมชน ได้อย่างเหมาะสมและทันการณ์ เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมออนไลน์ "ซื้อขายมั่นใจ มีปัญหาเมื่อไรเราดูแล" ซึ่งเป็นแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่าง สำนักงานสถิติจังหวัด กับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมร่วมกัน โดย ETDA ได้รับมอบหมายในการดำเนินงานศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ (1212 ETDA) ให้บริการปรึกษา รับเรื่องร้องเรียนปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภัยออนไลน์ให้แก่ประชาชน พร้อมยกระดับการให้บริการของศูนย์ฯ 1212 ETDA โดยเป็นช่องทางกลางในการรับเรื่องร้องเรียนจากการให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัส สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองอย่างเท่าเทียม ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณการติดต่อสอบถาม แจ้งปัญหาร้องเรียนเข้ามาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ETDA เพื่อขยายขีดความสามารถในการรับมือ เสริมสร้างเกราะป้องกันภัยออนไลน์ ศูนย์ฯ 1212 ETDA ได้จัดกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้ด้านการป้องกันภัยออนไลน์ให้กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่แต่ละจังหวัดทั่วทุกภูมิภาค มาแล้ว รวม 22 จังหวัด จำนวนผู้เข้าร่วมอบรมไม่น้อยกว่า 4,800 คน ซึ่งได้รับความสนใจจากทุกภาคส่วนเป็นอย่างมาก จึงได้ต่อยอดจัดกิจกรรมเพื่อขยายการเข้าถึงภูมิภาคต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอีก จำนวน 10 จังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 
1. สร้างความตระหนักถึงภัยออนไลน์ที่มาในรูปแบบที่แตกต่างกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการป้องกันและรับมือกับปัญหาธุรกรรมออนไลน์
2. สร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเป็นตัวแทนกระบอกเสียงส่งต่อความรู้เรื่องภัยออนไลน์สู่ชุมชนได้ในวงกว้าง
โดยกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานระดับภูมิภาคผู้นำชุมชน สถานศึกษา กลุ่มเปราะบาง และประชาชนที่สนใจ ตามพื้นที่จังหวัดต่างๆ

 


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar